เมนู

อย่าสำคัญข้อนั้นอย่างนี้ว่า พระอานนท์ไม่ห้ามสาวก ผู้มีส่วนเปรียบด้วย
พระพุทธเจ้า ห้ามแต่ภิกษุณีฝ่ายเดียว. ความคุ้นเคยหรือความเยื่อใยของ
สาวกกับภิกษุณีนั้นจักมีได้ ดังนี้.
บัดนี้ พระมหากัสสป เมื่อแสดงตนว่ามีส่วนเปรียบด้วยพระ-
พุทธเจ้า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตึ กึ มญฺญสิ อาวุโส ดังนี้. บทว่า
สตฺตรนํ คือ ประมาณ 7 ศอก. บทว่า นาคํ คือ ช้าง. บทว่า
อฑฺฒฏฺฐมรตนํ วา ได้แก่ 8 ศอกครึ่ง อธิบายว่า ตั้งแต่เท้าหน้าจนถึง
กระพองสูง 7 ศอกคืบ. บทว่า ตาลปตฺติกาย คือ ด้วยใบตาลอ่อน.
บทว่า จวิตฺถ ความว่า ถุลลติสสาภิกษุณีเคลื่อนแล้ว (จากเพศ
พรหมจรรย์) คือยังไม่ตาย หรือฉิบหายแล้ว.
ก็เมื่อพระมหากัสสปเถระบันลือสีหนาทด้วยอภิญญา 6 อยู่ ผ้าย้อม
น้ำฝาดของภิกษุณีนั้น เริ่มระคายที่ร่างกายเหมือนเรียวหนาม เพราะกล่าว
ร้ายสาวกผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้า. ความพอใจเกิดขึ้น ในขณะ
เปลื้องผ้าเหล่านั้นออกนุ่งผ้าขาว ดังนี้.
จบอรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10

11. จีวรสูตร



ว่าด้วยภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอานนท์ 30 รูป ลาสิกขา



[518] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไป
ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็โดยสมัยนี้แล ภิกษุ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านประมาณ 30 รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม พา
กันลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นหีนเพศ.